หน้าแรก
เกี่ยวกับโครงการ
สภาพพื้นที่
ผังเมืองรวม
ดาวน์โหลดเอกสาร
ช่องทางติดต่อ
ลิงค์หน่วยงาน
ความคืบหน้าโครงการ
ข่าวสาร/ กิจกรรม
ความสำคัญของโครงการ
วัตถุประสงค์ของโครงการ
ขอบเขตพื้นที่โครงการ
ขั้นตอนการดำเนินงานและโครงการ
ลักษณะภูมิประเทศ
ด้านประชากร
ด้านเศรษฐกิจ
การใช้ประโยชน์ที่ดิน
ด้านรูปแบบเมืองและการตั้งถิ่นฐาน
ด้านคมนาคมขนส่งและโลจิสติกส์
ด้านการท่องเที่ยว
ด้านประวัติศาสตร์
ด้านวัฒนธรรม
ด้านพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดอุทกภัย
ด้านทรัพยากรธรรมชาติ
ผังเมืองรวมจังหวัดสุรินทร์
ผังพัฒนาพื้นที่รายสาขา
ผังพัฒนาพื้นที่ปฏิบัติการ
ผังปฏิบัติการที่ 1
ผังปฏิบัติการที่ 2
ผังปฏิบัติการที่ 3
เอกสารประกอบการประชุมเพื่อระดมความคิดเห็นในการวางและจัดทำผังฯ (Workshop)
เอกสารประกอบการประชุมกลุ่มย่อย (Focus Group)
กรมโยธาธิการและผังเมือง จึงดำเนินการวางและจัดทำผังเมืองรวมจังหวัดสุรินทร์ เพื่อให้เป็นผังแม่บทการพัฒนาพื้นที่ทางกายภาพของจังหวัด ด้านการใช้ประโยชน์ที่ดิน การพัฒนาเมืองและระบบเมืองการคมนาคมและขนส่ง สาธารณูปโภคและสาธารณูปการ พร้อมกำหนดแนวทางและมาตรการทางผังเมือง ในการส่งเสริมและควบคุมการพัฒนาพื้นที่ให้เป็นไปอย่างมีระเบียบและเป็นระบบ รวมถึงเป็นการเสริมสร้างโอกาสและเพิ่มขีดความสามารถการพัฒนาในอนาคตอย่างยั่งยืน
pro-webserver.com,ระบบค้นหา
Custom Search
Search
กรอกคำที่ต้องการค้นหา
เลือกกลุ่มที่ต้องการค้นหา
บทความ
ข่าวสาร และโปรโมชั่น
สินค้า และบริการ
Untitled Document
ส่งเว็บไซต์นี้ให้เพื่อน
ชื่อของคุณ
E-mail ของเพื่อน
Enter the code shown
รับข่าวสารจากเรา
รับข่าวสาร
ยกเลิก
ความคืบหน้าโครงการ
ด้านรูปแบบเมืองและการตั้งถิ่นฐาน
รูปแบบเมืองและการตั้งถิ่นฐานในแต่ละพื้นที่มีความแตกต่างกันโดยมีปัจจัยสำคัญคือลักษณะทางกายภาพ เศรษฐกิจ และสังคมของแต่ละพื้นที่สำหรับรูปแบบการตั้งถิ่นฐานในจังหวัดสุรินทร์ ปรากฏรูปแบบการตั้งถิ่นฐาน 2 ลักษณะ คือ การตั้งถิ่นฐานประชากรที่อาศัยอยู่ในเมือง และการตั้งถิ่นฐานของประชากรที่อาศัยอยู่ในชนบท โดยการตั้งถิ่นฐานชุมชนมีลักษณะตามทฤษฎีรูปแบบการตั้งถิ่นฐาน 3 แบบ
1) การตั้งถิ่นฐานแบบรวมกลุ่ม (Cluster Settlement)
เป็นรูปแบบการตั้งถิ่นฐานดั้งเดิมอันเนื่องมาจากความสะดวกตามธรรมชาติ ลักษณะที่โดดเด่น ได้แก่ การตั้งบ้านเรือนรวมกันเป็นกลุ่มๆ กระจุกตามเนิน แหล่งน้ำหรือตามเส้นทางคมนาคม โดยมีการสร้างบ้านเรือนล้อมรอบตลาด วัด โรงเรียนหรือสถานที่สำคัญๆ ต่างมีรูปแบบการขยายตัวเป็นกลุ่มออกจากศูนย์กลาง ปรากฏชัดบริเวณศูนย์กลางเมืองและชุมชนต่างๆ ของแต่ละอำเภอ รวมถึงพื้นที่ชุมชนที่มีพัฒนาการตั้งแต่ในอดีต โดยเฉพาะชุมชนที่มีบทบาทด้านการปกครองและการค้า เช่น เทศบาลเมืองสุรินทร์ เทศบาลตำบลท่าตูม เป็นต้น
ที่มา : https://maps.google.co.th เข้าถึงเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2558
การตั้งถิ่นฐานชุมชนเมืองแบบรวมกลุ่ม บริเวณเทศบาลเมืองสุรินทร์
ที่มา : https://maps.google.co.th เข้าถึงเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2558
การตั้งถิ่นฐานชุมชนเมืองแบบรวมกลุ่ม บริเวณเทศบาลตำบลท่าตูม
2) การตั้งถิ่นฐานแบบกระจาย (Scattered Settlement)
เป็นรูปแบบที่บ้านเรือนกระจัดกระจายอยู่รอบๆ ย่านชุมชนที่เป็นศูนย์กลางชุมชน ลักษณะรูปแบบเกิดจากความสะดวกในการประกอบอาชีพทางด้านเกษตรกรรม การตั้งถิ่นฐานรูปแบบนี้พบมากในบริเวณพื้นที่เกษตรกรรม ลักษณะนี้พบได้ทั่วไปในบริเวณพื้นที่ชนบท โดยส่วนใหญ่จะกระจายอยู่ในพื้นที่เกษตรกรรมในองค์การบริหารส่วนตำบลต่างๆ
ที่มา : https://maps.google.co.th เข้าถึงเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2558
การตั้งถิ่นฐานแบบกระจาย ตำบลณรงค์ อำเภอศรีณรงค์
ที่มา : https://maps.google.co.th เข้าถึงเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2558
การตั้งถิ่นฐานแบบกระจาย ตำบลเฉนียง อำเภอเมืองสุรินทร์
3) การตั้งถิ่นฐานแบบแนวยาว (Linear Settlement)
มีการตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนที่เรียงรายกันไปตามเส้นทางคมนาคมทั้งทางบก และทางน้ำ พบมากบริเวณลุ่มน้ำและลำน้ำต่างๆ หรือในระยะที่มีพัฒนาการของการสร้างเส้นทางคมนาคม เช่น ถนน ทางรถไฟ จะพบชุมชนตามแนวเส้นทางเหล่านี้เช่นกัน มีบทบาทของชุมชนที่เน้นไปทางด้านบริการเล็กๆ น้อยๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับการเกษตร และการค้าและบริการ
ที่มา : https://maps.google.co.th เข้าถึงเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2558
การตั้งถิ่นฐานแบบแนวยาว ตำบลหนองขวาว อำเภอศีขรภูมิ
ที่มา : https://maps.google.co.th เข้าถึงเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2558
การตั้งถิ่นฐานแบบแนวยาว เทศบาลตำบลบุแกรง อำเภอจอมพระ
2016-06-19
Total 1/1
page
© http://www.surinrprovincialplan.com | Online 1 User | Hit : 772341 | SOFTWARE
PROWEBBIZ V9.5 Class B